วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัดส่วนและโครงสร้างมาตรฐาน แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ภาษาอังกฤษ-ไทย ของ CRU-Font Family

    สัดส่วนและโครงสร้างมาตรฐาน แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ภาษาอังกฤษ-ไทย ของ CRU-Font Family ชื่อแบบตัวพิมพ์(Font) ซีอาร์ยู-ลานจันทร์ CRU-LanChand โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
    ก่อนการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ หรือมีวัตถุประสงค์ปลายทางคือสร้างเป็นไฟล์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์(Program Computer Font) ที่สามารถนำไปจดลิขสิทธิ์ผลงานประเภทวรรณกรรมได้นั้น ขั้นตอนก่อนเริ่มทำงาน นักออกแบบเองควรต้องมีการศึกษาและการนำเสนอ-สื่อแสดงกระบวนวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ เทคนิควิธีของตนเองเอาไว้รองรับ อันเป็นการประกาศสิทธิ์ แสดงหลักฐานเอาไว้เพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเอาไว้ ดังเช่นในที่นี้เป็นผลงานที่เกิดจากการศึกษาวิจัย ศึกษา ทดสอบ สอบถามตามกระบวนการทำงานวิจัยแบบสร้่างสรรค์ จนได้ผลงานออกมาจาก และเป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยเรื่อง การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีงบประมาณ 2552 และเผยแพร่อ้างอิงไว้ที่นี้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่และลูกศิษย์ลูกหาได้ใช้เป็นแนวทาง ก่อนที่จะออกแบบ ร่างแบบ ว่าควรต้องศึกษาเริ่มต้นไปพร้อมกันการศึกษาเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์เพื่อการเขียนแบบตั้งต้นอย่างไร โครงสร้างสัดส่วนทั้ง 5 แบบที่นำเสนอนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง โดยการศึกษา อ้างอิงจากโครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทยและตัวพิมพ์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2540 แบบตัวอักษรลาติน แบบ Serif มากำหนดขึ้นเป็นโครงสร้างและสัดส่วนของตัวพิมพ์ชุด CRU-LanChand ดังมีรูปแบบ ขนาด สัดส่วน ตามตารางกริดที่แสดงนี้










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...